วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า


พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า หรือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภา เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สามในพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ของกัลป์ปัจจุบัน ซึ่งพระพุทธเจ้า 5 พระองค์เป็นที่นับถือของชาวทิเบตหรือที่เรียกว่า "ยับยัม" ประกอบด้วย พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอมิตาภะพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พระไวโรจนะพุทธเจ้า และพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า ทางนิกายเถรวาทมักจะคุ้นเคยเฉพาะพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น จึงถือโอกาสเขียนเรื่องพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าเพื่อคนที่สนใจได้ศึกษาต่อไป

พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า หรือออกเสียงว่า ซังเจ แมนลา སངས་རྒྱས་ ในภาษาทิเบตนั้นหมายถึงพระุพุทธเจ้าแห่งการรักษา โดยไภษัชย หมายถึง การแพทย์ การรักษา หรือการบำบัด คุรุ หมายถึง บรมครู
ซังเจ แมนลาสถิตยังพุทธเกษตรทิศตะวันออก ท่านมีพระวรกายสีน้ำเงินเข้มสดใสประดุจไพฑูรย์มณี ดังนั้นบางครั้งจึงขนานนามท่านว่าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา ซังเจ แมนลา ทรงได้รับความเคารพนับถืออย่างมากในฐานะที่เป็นบรมครูทางการแพทย์ นอกเหนือจากผู้ศึกษาการแพทย์แผนทิเบตและพระลามะแล้ว พระไภษัชยคุรุยังเป็นที่นับถือแพร่หลายในทิเบต มองโกเลีย และภูฏาน สำหรับในประเทศไทยพระนามของท่านไม่เป็นที่คุ้นหูกันมากนักหรือบางคนอาจไม่เคยได้ยินเลยด้วยซ้ำ แต่พระกริ่งที่คนไทยโบราณนิยมนำมาแช่น้ำเพื่อ ดื่มกิน อาบ ทา เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย หรือบางสำนักก็นิยมนำพระกริ่งมาใช้ทำน้ำมนต์นั้นแท้จริงแล้วคือพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านั่นเอง บ้านเราใช้ท่านช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บกันมานานแต่หารู้พระนามที่แท้จริงของท่านไม่ เรียกติดปากแต่
พระกริ่ง ดังนั้นจึงถือเป็นการดีที่จะได้มาทำความรู้จักกับพระพุทธเจ้าผู้ดูแลสุขภาพของท่านกันบ้าง พระกริ่งที่เราเห็นกันทั่วๆ ไปนั้นส่วนใหญ่พระหัตถ์ซ้ายทรงถือบาตรน้ำมนต์ พระหัตถ์ขวาแตะพื้นดินคล้ายพระพุทธรูปปางมารศรีวิชัย แต่หากเป็นรูปเคารพของชาวทิเบตส่วนใหญ่แล้วพระหัตถ์ซ้ายจะทรงบาตรโอสถ และพระหัตถ์ขวาทรงสมุนไพรทิพย์ที่เรียกตามภาษาทิเบตว่าอาโรร่า จัดเป็นผลไม้ทิพย์ผลมีสองสีในหนึ่งต้น ถ้าให้เปรียบกับพืชในโลกมนุษย์ก็จะมีลักษณะคล้ายๆ พืชตระกูลมัยโรบาลันซึ่งเป็นพืชสมุนไพรของอินเดีย ทิเบต และมองโกเลีย ปัจจุบันหาค่อนข้างยากแต่ยังคงมีจารึกวิธีการใช้พืชชนิดนี้อยู่ในคัมภีร์อายุรเวทของอินเดีย นอกจากนั้นพระไภษัชยคุรุจะมีพระโพธิสัตว์สององค์เป็นผู้ช่วยในพุทธกิจต่างๆ องค์หนึ่งนามว่าผิดกวงเพียงเจีย หรือ พระสุริยประภาโพธิสัตว์ และอีกองค์หนึ่งนามว่า ง้วยกวงเพียงเจีย หรือ พระจันทรประภาโพธิสัตว์

สำหรับพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องราวและคุณธรรมของพระไภษัชยคุรุเรียกว่าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร ซึ่งจารึกโดยพระเสวียนจ้าง หรือพระเฮี้ยนจัง หรือพระถังซัมจั๋งที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง โดยพระสูตรฉบับแรกจารึกเป็นภาษาสันสกฤตครั้งท่านจาริกแสวงบุญไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากอินเดีย ต่อมาได้รับการแปลจากภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาจีนเมื่อปี 1193 ในพระสูตรได้กล่าวถึงปณิธาน 12 ประการของพระไภษัชยคุรุ เพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์จากความเจ็บป่วยทั้งที่เกิดจากโรคทางกายและทางใจ เพื่อให้สรรพสัตว์มีชีวิตยืนยาวและสามารถยกระดับจิตญาณของตนให้สูงขึ้นได้โดยง่ายเพราะไม่มีเวทนามาคอยรบกวน ดังนั้นพระสูตรจึงกล่าวว่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าเป็นพระผู้ประทานโอสถ คือ ธรรม เพื่อเยียวยาสรรพสัตว์ที่ทุกข์ทรมานทางกายและใจ ในที่นี้ "ธรรม" หมายถึง โอสถที่ได้จากธรรมชาติเพื่อรักษาโรคทางกายและธรรมะโอสถเพื่อรักษาโรคทางใจ ด้วยเหตุนี้การแพทย์แผนทิเบตจึงให้ความสำคัญกับการรักษาโรคด้วยสมุนไพร มนตราบำบัด และการฟังพระคาถาเพื่อรักษาโรค รวมถึงการใช้ภาพปริศนาธรรมหรือมันดาลาในการรักษาโรคที่เกิดจากจิตและอารมณ์ที่ไม่สมดุล ตามคติการแพทย์แผนทิเบตโรคภัยไข้เจ็บทางกายมีรากเหง้าหรือสาเหตุของความเจ็บป่วยมาจากจิตได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ

เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะพบว่าคนเราส่วนใหญ่มักจะเจ็บป่วยจากโรคที่ไม่ได้มาจากเชื้อโรค แต่เกิดจากภาะวะจิตใจและการไม่ได้ควบคุมอารมณ์ทั้ง 7 ให้อยู่ในภาวะสมดุล ยกตัวอย่างเช่น วันหนึ่งๆ เรามีอารมณ์เกิดขึ้นมากมายทั้งสุข เศร้า โกรธ ซึ่งสภาวะที่แปรปรวนเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายและต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมเชื่อมโยงโดยตรงกับร่างกาย นานวันเข้าก็ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นในที่สุด ดังนั้นการสวดมนต์ ฟังพระคาถา และเจริญภาวนาจึงเป็นการปรับสมดุลให้กับอารมณ์ทั้ง 7 ก่อให้เกิดภาวะสมดุลของหยินหยางภายในร่างกายและพัฒนาเป็นภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย

สำหรับการใช้ภาพทังก้าเพื่อรักษานั้นจะทำโดยให้ผู้ีที่มีโรคภัยไข้เจ็บตั้งสมาธิไปที่ภาพวาดจนกระทั่งจำภาพได้ติดตาแล้วจึงหลับตาลง ถ้าเจ็บปวดที่ใดก็ให้เอามือไปวางไว้ที่รูปของพระไภษัชยคุรุตรงที่ที่เจ็บปวด ขณะที่ฟังพระคาถาให้ตั้งจิตระลึกถึงพระคุณของพระไภษัชยคุรุและระลึกถึงภาพที่ได้ตั้งสมาธิไว้ตอนแรก จากนั้นให้จิตน้อมนำคลื่นพลังงานเสียงที่ได้ยินจากบทสวดและคลื่นพลังงานที่ได้รับการตัดถ่ายไว้ในภาพไปยังอวัยวะที่เจ็บปวดนั้น โดยพระคาถาซังเจ แมนลา สำเนียงสันสกฤตคือ

โอม นะโม ภะคะวะเต ไภษัชยะคุรุ ไวฑูรยะ ประภา ราชายะ ตถาคะตายะ

อะระหะเต สัมยักสัม พุทธายะ ตฺถยะถา ไภษัชเย ไภษัชเย ไภษัชยะ

สัมมุทคะเต สวาหา






วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

งาน...งาน...งาน

เพียงแค่คิด...งานก็วิ่งเข้ามาทั้งงานราษฎร์งานหลวง จนไม่รู้แล้วว่างานไหนงานหลักงานไหนงานอดิเรก ต้นตอของเรื่องคือผู้เขียนตั้งใจจะทำหนังสือสักเล่มสำหรับพระภิกษุและสามเณร เพื่อทำบุญตามวัดต่างๆ เนื่องจากทุกวันนี้ด้วยสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้สุขภาพของสงฆ์ย่ำแย่ไป
ตามๆ กันด้วยมลภาวะนานาประการ
หนังสือเล่มน้อยนี้จึงแวบเข้ามาในสมองซีกซ้ายและขวาอย่างพร้อมเพรียงกันว่าน่าจะมี "คู่มือการใช้ชีวิตปลอดโรค" สำหรับพระภิกษุบ้าง ก็ด้วยกิจและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ที่มีความแตกต่างจากชาวบ้านอย่างเราๆ ทำให้บางครั้งไม่สามารถเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพได้ และแน่นอนโครงการนี้...มิได้ทำคนเดียวหากแต่จำต้องรอ content จากปรมาจารย์ทางด้านสุขภาพ คือ อ.ศุภชัย จารุสมบูรณ์ เรียกว่า งานนี้...ทำบุญร่วมกันโดยแท้ และจากการที่ผู้เขียนจำเป็นต้องรอ...รอ...และรอ เนื้อหาส่วนใหญ่จากท่านอาจารย์ประกอบกับการเขียนหนังสือส่วนอื่นๆ ที่เพิ่งเริ่มได้เพียงน้อยนิด...T_T วันนี้อยู่ๆ จึงมีฟ้าผ่าเปรี้ยงกลางศรีษะ พร้อมรายชื่อพระและวัดที่ต้องการหนังสือดังกล่าว....

- พระสมรัก ญาณธีโร โรงเรียนพระปริยัติธรรมพันษีวิทยา วัดพันษี ต.จารพัด อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ 32110 (086 260 2702)
- พระมหาขุนแผน ฐิตธมฺโม โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาสำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120 (081 940 8541)
- วัดพุทธปัญญา อริโซนา สหรัฐอเมริกา

คงจะเห็นว่าผู้เขียนเอื่อยเฉื่อยเหลือเกินกับโครงการนี้จึงมีผู้หวังดีส่งรายชื่อมาเร่งให้
คลอดหนังสือเสียที แถมท้ายด้วยวัดไทยในต่างประเทศอีกด้วยทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า
(ควรจะแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยหรือไม่?) สำหรับวัดป่านานาชาติทั้งหลาย....ในเมืองไทยและอีกหลายๆ วัดในต่างประเทศ แต่ถ้าทำ....งานก็เพิ่มอีกน่ะซิ ?????

รายชื่อโรงเรียนและมูลนิธิ

หลังจากแกว่งเท้าหาเสี้ยนอยู่ไม่นาน...ก็ได้เสี้ยนมาสมใจด้วยรายชื่อโรงเรียนและมูลนิธิ
มากมายทั้งในกรุงและนอกกรุง ขออนุึโมทนาบุญกับทุกท่านที่แนะนำรายชื่อเข้ามา ณ
ที่นี้
- โรงเรียนวัดโบสถ์วรดิษฐ์ จ.อ่างทอง
- โรงเรียนวัีดพระบาทน้ำุพุ จ.ลพบุรี
-
โรงเรียนวัดดอนจั่น จ. เชียงใหม่
- โรงเรียนสายธรรมสายธาร จ. เชียงราย
- มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก 02-5743753
- สถานเลี้ยงเด็กยากจนบ้านครูน้อย 02-8713083
- มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน 02-4656165
-
บ้านเฮือนน้ำใจเชียงใหม่ 053-203243
- มูลนิธิคุ้มครองเด็กบ้านเด็กแสงตะวัน 02-5394041
- มูลนิธิเพื่อชีวิตเด็ก อุดรธานี 042-328882
- มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กบ้านเด็กหญิง 02-4121196
- มูลนิธิอุทิศเพื่อเด็กไทยในชนบท ขอนแก่น 043-327946
- บ้านเด็กหญิงเร่ร่อน 02-7583182
- บ้านมูลนิธินกขมิ้น 152/3 ม.10 ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทอง จ.ฉะเชิงเทรา (ขาดแคลนเรื่องอาหาร)
โทร.081 -408541
- มูลนิธิสิทธิเด็ก (บ้านแกร์ด้า) อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี (เด็กกำพร้าติดเชื้อ HIV) 036-426535

- มูลนิธิแนบมหานีรานนท์ 84/1 หมู่2 พุทธมณฑลสาย 5, นครปฐม 02-420-8024ม 02- 889-4417

หลังจากนี้คงจะจัด route เดินสายเอาไปให้ ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจอยากร่วมบุญก็ติดต่อเข้ามาได้ที่ 0814443507 เผื่อผู้ที่สนใจเดินทางไปร่วมบุญกันจะได้เลือกวันที่ตนสะดวกได้ตามความเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550

หาเรื่องใส่ตัว

ชั่วแวบที่ความคิดแบบ hyper กำเริบ บล็อก ธรรมะทาน หรือ ธรรมะธาร ก็ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการ ด้วยวัตถุประสงค์ตรงตามชื่อเว็บทั้งสองวัตถุประสงค์หลัก นั่นคือ

1. เป็นแหล่งรวบรวมสถานที่ที่จะไปทำทานและบริจาคสิ่งของแก่เด็กๆ และโรงเรียนที่ขาดแคลน
2. เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและบทความที่เป็นประโยชน์ในการนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประำจำวัน

ต้นตอที่แท้จริงสืบเนื่องมาจากความคับข้องใจบางประการกับการฝึกฝนตัวเองที่บางครั้ง "ลืม" เอาสมุดโน้ตมา ทำให้ต้องพึ่งพิงไซเบอร์โน้ตแทน เลยเกิดความคิดแผลงๆ ว่าหากมีคนมาแชร์ด้วย...ก็คงจะดี เพราะผู้เีขียนเองก็เพิ่งจะหัดเดินยังไม่ทันก้าวก็ล้มซะแล้ว ดังนั้น วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ของบล็อกนี้ส่วนหนึ่งก็คือ "การให้ธรรมะเป็นทาน" ซึ่งน่าจะเป็นการให้ทานผู้เขียนมากกว่า T_T

และทันทีที่บล็อกสิงสถิตเป็นที่เรียบร้อย ก็เกิดคำถามใหญ่ในหัว "หาเรื่องใส่ตัวอีกแล้วสิ ?" !!!